พระราชรัตนโมลี (นคร เขมปาลี)
พระราชรัตนโมลี (นคร เขมปาลี)

พระราชรัตนโมลี (นคร เขมปาลี)

พระราชรัตนโมลี (นคร เขมปาลี) (29 พฤษภาคม พ.ศ. 2465-29 พฤษภาคม พ.ศ. 2551) เป็นอดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร,อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระหว่าง พ.ศ. 2529-2540,เป็นมีผู้ส่วนสำคัญต่อการสนับสนุนให้เกิดการได้มาซึ่ง การตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 [1] เคยต้องคดีข้อห้าอันเป็นคอมมิวนิสต์ ในสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506) นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 11 และต้องถูกจองจำถูกคุมขังในสันติปาลาราม เป็นเวลากว่า 4 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2503-2507 และถูกปล่อยตัวโดยไม่มีการส่งฟ้องศาลแต่อย่างใด[2]ในระหว่างถูกจองจำได้แปลหนังสือเรื่อง “Glimpses of World History”[3] ในชื่อภาษาไทยว่า โฉมหน้าประวัติศาสตร์สากล [4]และ “Letters from a Father to His Daughter”[5] ในชื่อภาษาไทยว่า จดหมายจากพ่อถึงลูกสาว[6] ของ “ยวาหรลาล เนห์รู” อดีตนายกรัฐมนตรีอินเดีย ภายใต้การแนะนำจาก “อาจารย์กรุณา กุศลาสัย” (10 พฤษภาคม พ.ศ. 2463 - 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552) อดีตสามเณรใจสิงห์ ในโครงการ "พระภิกษุสามเณรใจสิงห์–Lion-hearted Bhikkhus and Samaneras" [7] ของ พระโลกนาถ (ซัลวาโตเล ซิโอฟฟี) พระภิกษุชาวอิตาลี ที่นำพระภิกษุจากไทย พม่า ทีเดินธุดงค์ด้วยเท้าจากประเทศไทยไปศึกษาอบรมที่ประเทศอินเดีย เป็นนักเขียนบทความและสารคดี เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต และภารตวิทยา กรุณาได้รับรางวัลศรีบูรพาปี พ.ศ. 2538, ที่ถูกคุมขังอยู่ด้วยกันในขณะนั้น พร้อมทั้งได้เขียนบันทึกชีวิตไว้ในหนังสือ ชีวิตลิขิตของกรรม [8] ที่มีความตอนหนึ่งที่เกี่ยวกับพระสงฆ์กับการเมืองที่ว่า “…นี่คือระบอบประชาธิปไตยแบบไทยที่มีอุณหภูมิไม่แน่นอน ครึ่งใบบ้าง ค่อนใบบ้าง เต็มใบบ้าง ตามวุฒิภาวะของผู้นำรัฐบาล แม้รัฐธรรมนูญก็สามารถเปลี่ยนใหม่ได้ตามพลังและอำนาจนิยม…”[9]

พระราชรัตนโมลี (นคร เขมปาลี)

มรณภาพ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
ที่อยู่ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
เกิด 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2465 (86 ปี ปี)
นิกาย มหานิกาย
พรรษา 58 พรรษา พรรษา
ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
เจ้าคณะ 3
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ชื่ออื่น ท่านเจ้าคุณนคร ป.ธ.6
การศึกษา ป.ธ.6